เครื่องเจาะมี 2 แบบคือ
1. เครื่องเจาะแบบตั้งโต๊ะ
2. เครื่องเจาะแบบตั้งพื้น
การจับยึดดอกสว่านนอกจากจะใช้หัวจับแล้วยังใช้พวกปลอกเรียว ( Taper Sleeve ) มีขั้นตอนในการทำงานได้กว้างขึ้น ความเร็วรอบเปลี่ยนได้หลายขั้นและสามารถจับงานขนาดใหญ่ ๆ ได้ น้ำหนักเครื่องเจาะแบบตั้งพื้นจะมากกว่าแบบตั้งโต๊ะ ระบบการส่งกำลังขับมีทั้งแบบตรงต่อจากมอเตอร์ผ่านสายพาน ( Pulley ) เข้าเพลาเจาะหรือใช้ระบบเฟืองขับต่อจากมอเตอร์เลยก็ได้
เครื่องเจาะแบบตั้งโต๊ะเหมาะกับงานเจาะเบา ๆ หรืองานที่ต้องการความเร็วรอบสูง โดยทั่วไปใช้กับดอกสว่านขนาดความโตไม่เกิน 1 ½ นิ้ว ( ประมาณ 38 มิลลิเมตร )
ส่วนประกอบของเครื่องเจาะประกอบด้วย มือหมุนเจาะชิ้นงาน ชุดสายพานส่งกำลัง มอเตอร์ส่งกำลัง เพลาจับสว่าน เสา แท่นรองรับชิ้นงาน เฟืองสะพาน หมุนปรับแท่นรองรับงานให้ขึ้นลงตามเสา ล็อคแท่นรองรับงานให้อยู่กับที่
การคว้านเรียบโดยใช้รีมเมอร์นั้นเป็นการขยายปากรูเจาะที่ผ่านการเจาะด้วยดอกสว่านมาแล้วเพื่อให้ผิวรูเรียบ ซึ่งลักษณะการจับยึดก็เหมือนกับดอกสว่านซึ่งมีขนาดแตกต่างกันไปตามขนาดของรูเจาะ
![]() |
เครื่องเจาะ |
เครื่องเจาะ
งานเจาะจัดเป็นกระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน ที่มีลักษณะการทำงานแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานโลหะ การเจาะเป็นกระบวนการตัดเฉือนวัสดุงานออก โดยใช้ดอกสว่าน รูที่ได้จากการเจาะด้วยดอกสว่านจะมีลักษณะเป็นรูกลม เช่น รูยึดเหล็กดัดประตูหน้าต่างบานพับ กลอนประตูบ้าน ตลอดจนชิ้นส่วนรถจักรยาน รถยนต์ต่าง ๆ มีรูสำหรับการจับยึดมากมาย
ในการเจาะรูบนชิ้นงานสามารถทำได้ด้วยเครื่องจักรกลหลายชนิด เช่น การเจาะรูบนเครื่องกลึง เครื่องกัด เป็นต้น แต่ในการเจาะรูที่ประหยัด รวดเร็ว และนิยมใช้กันมากที่สุด คือ การเจาะรูด้วยเครื่องเจาะ
ชนิดของเครื่องเจาะ
เครื่องเจาะมีหลายชนิดแต่สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ คือ เครื่องเจาะตั้งพื้น เครื่องเจาะแบบรัศมี และเครื่องเจาะในงานอุตสาหกรรม