-->

ความปลอดภัยในงานเชื่อมโลหะ

การเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า (อาร์ค) และการเชื่อมโลหะด้วยความต้านทานหรือเชื่อมจุด

1. ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมโลหะ จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนต่างๆ ของร่างกายดังนี้

1.1 งานเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า (อาร์ค) ต้องใช้หน้ากากกรองแสง (Helmet) ที่เหมาะสมกับงานและมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นชอบสำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟและรังสี

1.2 งานเชื่อมโลหะด้วยความต้านทานต้องใช้แว่นตา (Safety Glasses) สำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟ

1.3 ต้องสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่สามารถป้องกันอันตรายจากสะเก็ดลูกไฟและไม่ลุกติดไฟง่าย

1.4 ต้องสวมรองเท้าชนิดหุ้มข้อหรือรองเท้านิรภัย (Safety shoes) ตามความเหมาะสม

1.5 ต้องสวมถุงมือหนังชนิดไม่เปิดปลายนิ้วมือ

2. เครื่องเชื่อมโลหะและอุปกรณ์

2.1 เครื่องเชื่อมโลหะแต่ละเครื่องต้องมีอุปกรณ์ป้องกันหรือสวิทซ์ตัดตอนไฟฟ้า เพื่อป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดและใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง

2.2 ตู้เชื่อมจะต้องต่อสายดินทุกเครื่อง

2.3 ห้ามใช้ลวดทองแดงแทนฟิวส์ตะกั่ว

2.4 สายไฟฟ้าที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานเหมาะสมกับงาน และต้องรักษาให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัยเสมอ

3. บริเวณที่ปฏิบัติงาน

3.1 พื้นอาคารโรงงานต้องเป็นวัสดุทนไฟไม่ขรุขระหรือมีน้ำขัง

3.2 ผนังอาคารโรงงาน ต้องเป็นวัสดุทนไฟทึบ หรือมีวัสดุทนไฟปูปิดทับและสูงจากพื้นอาคารโรงงานไม่น้อยกว่า 2 เมตร

3.3 ต้องมีฉากที่ทำจากวัสดุไม่ติดไฟ สำหรับป้องกันแสง รังสี และสะเก็ดลูกไฟ

3.4 ต้องไม่วางวัสดุที่ติดไฟง่ายหรือวัสดุไวไฟ ไว้ในบริเวณที่ทำการเชื่อมโลหะ และในบริเวณใกล้เคียง

3.5 จะต้องมีการระบายอากาศในโรงงานและในบริเวณที่เชื่อมโลหะไม่เพียงพอ

3.6 จะต้องจัดให้มีแสงสว่างให้เพียงพอ

การเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า (อาร์ค) โดยใช้ก๊าซเฉื่อยเป็นก๊าซซีล

1. ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมโลหะ จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนต่างๆ ของร่ายกายดังนี้

1.1 ต้องใช้หน้ากากกรองแสง(Helmet)ชนิดที่ใช้สำหรับงานเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า(อาร์ค)ที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบสำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟ และรังสี

1.2 ต้องสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่สามารถป้องกันอันตรายจากสะเก็ดลูกไฟ และไม่ลุกติดไฟง่าย

1.3 ต้องสวมรองเท้าหุ้มข้อหรือรองเท้านิรกัย (Safety shoes) ตามความเหมาะสม

1.4 ต้องสวมถุงมือหนังชนิดไม่เปิดปลายนิ้วมือ

2. เครื่องเชื่อมโลหะและอุปกรณ์

2.1 เครื่องเชื่อมโลหะแต่ละเครื่องต้องมีอุปกรณ์ป้องกันหรือสวิทซ์ตัดตอนไฟฟ้า เพื่อป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด และการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง

2.2 ตู้เชื่อมจะต้องต่อสายดินทุกเครื่อง

2.3 ห้ามใช้ลวดทองแดงแทนฟิวส์ตะกั่ว

2.4 สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานเหมาะสมกับงาน และต้องรักษาให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัยเสมอ

2.5 ถังบรรจุก๊าซเฉื่อย จะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่วิศวกรของกระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบ และมีสัญลักษณ์ของสีตามมาตรฐานบอกชนิดของก๊าซที่บรรจุอยู่ภายใน

2.6 ถังก๊าชจะต้องตั้งหัวขึ้น และมีสายผูกยึดกันล้มกับสิ่งที่มั่นคง

2.7 ถังก๊าซจะต้องมีเกจวัดความดันของก๊าซในถัง (Gas pressure gauge) วาล์วควบคุมความดัน (Working pressure regulator) และเกจวัดความดันที่ใช้งาน (Working pressure gauge) ที่อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย

3. บริเวณที่ปฏิบัติงาน

3.1 พื้นอาคารโรงงานต้องเป็นวัสดุทนไฟไม่ขรุขระหรือมีนํ้าขัง

3.2 ผนังอาคารโรงงานต้องเป็นวัสดุทนไฟทึบ หรือมีวัสดุทนไฟปูปิดทับ และสูงจากพื้นอาคารโรงงานไม่น้อยกว่า 2 เมตร

3.3 ต้องมีฉากที่ทำจากวัสดุติดไฟสำหรับป้องกันแสง รังสี และสะเก็ดลูกไฟ

3.4 ต้องไม่วางวัสดุที่ติดไฟง่ายหรือวัสดุไวไฟไว้ในบริเวณที่ทำการเชื่อมโลหะ และในบริเวณใกล้เคียง

3.5 จะต้องมีการระบายอากาศในโรงงานและในบริเวณที่เชื่อมโลหะให้เพียงพอ

.6 จะต้องจัดให้มีแสงสว่างให้เพียงพอ

การเชื่อมโลหะด้วยก๊าซอะเซติลีนและก๊าซอื่นๆ

1. ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมโลหะ จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้

1.1 ต้องสวมแว่นตากรองแสง (Goggles) ชนิดสำหรับเชื่อมโลหะด้วยก๊าซ ที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบ

1.2 ต้องสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่สามารถป้องกันอันตรายจากสะเก็ดลูกไฟและไม่ลุกติดไฟง่าย

1.3 ต้องสวมรองเท้าหุ้มส้น

1.4 ต้องสวมถุงมือชนิดไม่เปิดปลายนิ้วมือ

2. ถังก๊าชและอุปกรณ์

2.1 ถังก๊าซและอุปกรณ์จะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่วิศวกรของกระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบ และมีสัญลักษณ์ของสีตามมาตรฐาน บอกชนิดของก๊าซที่บรรจุอยู่ภายใน

2.2 ถังก๊าซจะต้องตั้งหัวขึ้นและมีสายผูกยึดกันล้มกับสิ่งที่มั่นคง

2.3 ถังบรรจุก๊าซและถังผลิตก๊าชอะเซติลีนจะต้องมีเกจวัดความดันของก๊าซในถัง (Gas pressure gauge) วาล์วควบคุมความดัน (Working pressure regu­lator) และเกจวัดความดันที่ใซ้งาน (Working pressure gauge) ที่อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย

2.4 ถังผลิตก๊าซอะเซติลีน จะต้องมีวาล์วนิรภัย (Safety valve)

2.4.1 ประเภทถังผลิตก๊าซอะเซติลีนความดันต่ำ (ความดันของก๊าซที่ใช้งานไม่เกิน 0.15 Kgf/cm2 หรือ 14.71 KPa หรือ 2.13 lbf/in2) ต้องตั้งความดันของวาล์วนิรภัยไม่เกิน 2 เท่าของความดันที่ใช้งาน แต่จะต้องไม่เกิน 0.3 Kgf/cm2 (29.42 KPa หรือ 4.27 lbf/in2)

2.4.2 ประเภทถังผลิตอะเซติลีน ความดันปานกลาง (ความดันของก๊าซที่ใช้งานไม่เกิน 1.55 Kgf/cm2 หรือ 152 KPa หรือ 22.04 lbf/in2) ตั้งความดันของวาล์วนิรภัยที่ 110 เปอร์เซ็นต์ของ ความดันที่ใช้งาน

2.5 วาล์วท่อและอุปกรณ์ที่ใช้กับก๊าซอ๊อกซิเยนจะต้องไม่มีนํ้ามันไขหรือจารบี และไม่ใช้ท่อทองแดงกับท่อนํ้าก๊าซอะเซติลีนหรือส่วนประกอบ

2.6 หัวเชื่อมก๊าซและสายท่อนำก๊าซจะต้องอยู่ในสภาพดีและปลอดภัย

2.7 จะต้องมีชุดอุปกรณ์กันไฟกลับติดตั้งที่ท่อนํ้าก๊าซอะเซติลีนก่อนต่อเข้ากับชุดหัวเชื่อมก๊าซ

3. วัสดุ

3.1 กังเก็บแคลเซียมคารไบค์ ต้องเป็นถังโลหะที่ป้องกันนํ้าเข้าได้ และตั้งอยู่บนพื้นที่ยกระดับอย่างน้อย 15 เซนติเมตร

3.2 กากวัสดุเหลือใช้ ต้องมีภาชนะเก็บโดยเฉพาะและมีฝาปิดมิดชิด

4. บริเวณที่ปฎิบัติงาน

4.1 พื้นอาคารโรงงานต้องเป็นวัสดุทนไฟ ไม่ขรุขระหรือมีนํ้าขัง

4.2 ผนังอาคารโรงงานต้องเป็นวัสดุทนไฟหรือมีวัสดุทนไฟปูปิดทับและผนังส่วนทึบจากพื้นอาคารโรงงานต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร

4.3 จะต้องมีฉากที่ทำจากวัสดุไม่ติดไฟสำหรับป้องกันแสง รังสี และสะเก็ดลูกไฟ

4.4 ต้องไม่วางวัสดุที่ติดไฟง่ายหรือวัสดุไวไฟไว้ในบริเวณที่ทำการเชื่อมโลหะ และบริเวณใกล้เคียง

4.5 จะต้องมีการระบายอากาศในโรงงาน และบริเวณที่เชื่อมโลหะให้เพียงพอ

4.6 จะต้องจัดให้มีแสงสว่างให้เพียงพอ

ที่มา:วิฑูรย์ สิมะโชคดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaisafetywork.com 27/8/56

Visitors: 157,842